ตกลงเราเรียนวิชาโครงงานไปเพื่ออะไร ?

กำลังจะอ่านหนังสือแล้วขี้เกียจเลยเดินไปดูต้นไม้ตัวเองที่ระเบียงแล้วคิดอะไรบางอย่างออก

วิชาโครงงาน หรือ IS หรือแล้วแต่พวกคุณจะเรียกกัน ผมก็ไม่รู้มันมีขึ้นมาเพื่ออะไร แต่ถ้าใช้ความโนส่วนตัวคิดว่ามีเพื่อการสอนให้เด็กเรียนรู้ และฝึกสังเกต สรุปผลตามแนวทางหลักวิทยาศาสตร์ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ

ปัญหาของวิชานี้ที่เจอสมัยอยู่โรงเรียนเก่า คือ ทำโครงงานง่ายไปไม่ผ่าน เลยตั้งข้อสงสัยว่า ในเมื่อจุดประสงค์คือการให้ได้ฝึกสังเกต วิเคราะห์ สรุปผล แล้วทำไมความยากง่ายของหัวข้อโครงงานถึงมาเกี่ยวข้องด้วย ทำไมโรงเรียนต้องพยายามผลักดันให้เด็กทำโครงงานที่ดูยาก ทั้ง ๆ ที่เริ่มจากโครงงานง่าย ๆ ก่อนแล้วค่อยดันเด็กไปสู่รายละเอียดที่น่าสนใจขึ้นก็ได้

ประสบการณ์ตรงจากการเห็นอาจารย์ปฏิเสธโครงงานวัดปริมาณวิตามินซีในน้ำผลไม้ ชื่อหัวข้ออาจดูง่ายสำหรับโครงงานม.หก เพราะทำกันมาตั้งแต่ม.สาม แต่ทำไมอาจารย์ที่ปรึกษาในตอนนั้นไม่ให้เด็กลองทำหัวข้อนี้ดูก่อน แล้วค่อยเสริมรายละเอียดที่น่าสนใจขึ้น เช่น ได้ปริมาณวิตามินซีในน้ำผลไม้มาแล้ว ทีนี้ลองมานั่งหาความสัมพันธ์กับส่วนประกอบของเครื่องดื่ม

สรุป สุดท้ายวิชาโครงงานได้อะไร ได้โครงงานเจ๋ง ๆ ไว้แข่งกับโรงเรียนอื่น หรือ ได้โปรดักส์ดี ๆ มาไว้ใช้งาน หรืออยากให้เด็กฝึกวิเคราะห์ปัญหากันแน่

ป.ล. ความจริงความยากง่ายของโครงงานไม่ได้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสังคม เช่น ย้อนไปหลายปีก่อนมีประเด็นเด็กประถมในต่างประเทศทำโปรเจ็กต์วิทยาสตร์ดังไปทั่วประเทศ เรื่อง วัดคุณภาพน้ำแข็งในร้านฟาสต์ฟู้ดชื่อดังกับน้ำในชักโครก ซึ่งผลออกมาคือ สกปรกเท่ากัน... แต่โครงงานนี้สร้างผลกระทบเป็นข่าวไปได้ในวงกว้างพอสมควรเลย

ข่าวเกี่ยวกับโครงงานตรวจเชื้อในน้ำแข็ง http://abcnews.go.com/GMA/OnCall/story?id=1641825&page=1